อุณหภูมิร่างกาย ร่างกายคนเราจะมี อุณหภูมิปกติ หรือ อุณหภูมิเมื่อมีไข้

อุณหภูมิร่างกาย

อุณหภูมิร่างกาย ทำความรู้จักกับอุณหภูมิร่างกาย และการวัดไข้อย่างถูกวิธี

อุณหภูมิร่างกาย อุณหภูมิในร่างกายคนเรานั้น มีไม่กี่อุณหภูมิ อุณหภูมิร่างกายปกติ เท่าไร ? ซึ่งปัจจุบันทางการแพทย์ ได้มีการระบุว่า อุณหภูมิร่างกายของคนเรานั้น ไม่มีการคงที่ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ในแต่ละวัน และขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ การกิน และพฤติกรรมอื่น ๆ โดยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ในร่างกายนั่นเอง

และถ้าหากคุณนั้น มีอาการเป็นไข้ ซึ่งไข้จะมีทั้งอุณหภูมิที่ต่ำ และอุณหภูมิที่สูง อุณหภูมิต่าง ๆ ในร่างกาย เวลาเป็นไข้จะต้องมีอุณหภูมิเท่าไหร่ โดยวันนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ อุณหภูมิในร่างกายของคนเรา และวิธีการวัดไข้อย่างถูกวิธี พร้อมทั้งการเตรียมร่างกายให้อบอุ่น หรือการอบอุ่นร่างกาย จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปติดตามดูกันได้เลยค่ะ

อุณหภูมิร่างกายปกติ ผู้ใหญ่

อุณหภูมิร่างกายปกติ

ร่างกายคนเราจะมี อุณหภูมิร่างกายปกติ หรือ อุณหภูมิเมื่อมีไข้ จะถูกแบ่งออกตามอุณหภูมิ ที่จะใช้เครื่องวัดไข้ ดังต่อไปนี้

  • ร่างกายปกติ อุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ 35.4 – 37.4 องศาเซลเซียส
  • ร่างกายมีไข้ต่ำ อุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ 37.5 – 38.4 องศาเซลเซียส
  • ร่างกายมีไข้สูง อุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ 38.5 – 39.4 องศาเซลเซียส
  • ร่างกายมีไข้สูงมาก อุณหภูมิร่างกายจะมากกว่า 40 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิในร่างกายสูงมาก

และนี่ก็เป็นอุณหภูมิต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งคุณสามารถ ทำการสังเกต และใช้ที่วัดไข้ด้วยตัวเองได้ หากมีอุณหภูมิ ในร่างกายมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส และมีอาการเจ็บท้อง ปวดหัว อาเจียน ควรรีบพบแพทย์ทันที และไม่ควรปล่อยให้ อุณหภูมิในร่างกายสูงมาก เพราะอาจจะช็อกเสียชีวิตได้ ดังนั้นไม่ควรปล่อย หรือหายาทานเอง แต่ถ้ามีไข้ไม่สูงมาก ก็ลองนอนพักผ่อน ให้เพียงพอ ไม่มากไป และไม่น้อยไป

การวัดไข้อย่างไรให้ถูกต้อง และถูกวิธี

การวัดไข้ เพื่อดูอุณหภูมิในร่างกาย ปัจจุบันสามารถทำเองได้ ซึ่งปัจจุบัน มีเครื่องวัดไข้จำหน่ายตามร้านขายยา และมีราคาไม่แพงมากนัก ครอบครัวไหน ที่มีลูกน้อย จะต้องมีเครื่องวัดไข้เก็บไว้ แทบจะทุกบ้านเพื่อวัดไข้ และดูอุณหภูมิในร่างกาย ถ้าหากมีไข้ จะได้รีบพบแพทย์ทัน และในปัจจุบัน การวัดไข้อย่างถูกวิธี นั้นมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

การวัดไข้ที่ถูกวิธี

วัดไข้ทางช่องปาก เป็นการวัดอุณหภูมิในร่างกาย จากทางใต้ลิ้นในช่องปาก
วัดไข้ทางรักแร้ เป็นการวัดไข้ โดยการหนีบไว้ที่รักแร้ และจะใช้เครื่องหนีบเทอร์โมมิเตอร์  การวัดไข้ทางนี้ จะมีอุณหภูมิปกติต่ำกว่าการวัดทางช่องปาก
วัดไข้ทางผิวหนัง เป็นการวัดไข้ที่บริเวณหน้าผาก เครื่องวัดไข้เทอร์โมมิเตอร์ แบบแผ่นแปะ และจะมีการแสดงตัวเลขของ อุณหภูมิให้ทราบ
วัดไข้ทางหู เป็นการวัดไข้ โดยใช้เครื่องเทอร์โมมิเตอร์ ในรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถวัดทางช่องของหูได้
วัดไข้ทางทวารหนัก เป็นการวัดไข้ โดยการสอดเทอร์โมมิเตอร์ เข้าไปที่ทางทวารหนัก

การวัดไข้ที่นิยมทำกันเอง จะเป็นการวัดไข้ทางรักแร้ หรือช่องปาก แต่จริง ๆ แล้วการวัดไข้ก็แล้วแต่ความสะดวก เวลาไปวัดไข้ที่โรงพยาบาล ก็จะมีการวัดไข้ ที่แตกต่างกันออกไปตามสถานการณ์ และสภาพร่างกายของผู้ป่วย

แนะนำวิธีการใช้ปรอทวัดไข้ หรือว่าปรอทวัดอุณหภูมิในร่างกาย

ซึ่งสามารถวัดอุณหภูมิ แล้วก็บ่งชี้ได้ว่า ท่านมีไข้หรือไม่มีไข้ และเพื่อความปลอดภัยของทุกคน เราขอแนะนำ วิธีการวัดไข้ทางรักแร้ เพราะเป็นวิธีที่ง่าย และสะดวกที่สุดค่ะ 

อันดับแรก เราจะดูปรอทตรงเทอร์โมมิเตอร์ ตรงปรอทวัดไข้ก่อนนะคะ ว่าตัวเลขในปรอทต้องต่ำกว่า 35.6 ซึ่งถ้าไม่ต่ำกว่านี้ ก็สามารถสะบัดปรอทแรง ๆ นะคะ แล้วก็ดูที่ขีดของปรอทค่ะว่าต่ำกว่า 35.6 หรือเปล่า หลังจากนั้นนะคะ ก็ทำการเช็ดรักแร้ให้แห้ง ถ้าคนไหนมีเหงื่อออกมาก ๆ ควรเช็ดให้แห้งสนิทก่อนค่ะ และไม่แนะนำ ให้ทุกคน วัดหลังจากอาบน้ำเสร็จทันที เนื่องจากอุณหภูมิในร่างกาย จะต่ำกว่าปกตินั่นเองค่ะ

วิธีการวัดก็คือ นำปรอทหนีบตรงกลางรักแร้ ให้แนบกับเนื้อ โดยส่วนปลายของเทอร์โมมิเตอร์ หรือปรอทวัดไข้ จะไม่เลยออกนอกรักแร้ และทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที หลังจาก 5 นาทีแล้ว เราจะมาอ่านผล โดยการดูปรอทตรงตัวเลข ด้วยการจับส่วนปลายของปรอท และวางในแนวนอน

วิธีการดูค่าตัวเลข ก็คือ ให้ดูตรงปรอทนะคะ ขีดบนสิ้นสุดของตัวปรอท โชว์ที่ตัวเลขไหน ให้บวกเพิ่มไปอีก 0.5 องศา เช่นถ้าวัดได้ 37 ก็คือบวกเพิ่มไปอีก 0.5 คุณภูมิในร่างกายของคุณวันนั้น จะเป็น 37.5 องศาเซลเซียสนะคะ ซึ่งก็หมายความว่า ในวันนั้นอุณหภูมิต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียส คุณจะไม่มีไข้ แต่ถ้าเกิน 37.5 องศาเซลเซียส แสดงว่าคุณมีไข้ นั่นเองค่ะ

เตรียมร่างกายให้อบอุ่น

เมื่อเวลารู้สึกไม่สบาย หรือมีไข้ หากรู้สึกหนาว ควรที่จะทำการเตรียมร่างกายให้อบอุ่น นั้นถือเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ร่างกาย ได้เคลื่อนไหว และทำให้ร่างกาย ได้ออกกำลังกายอย่างช้า ๆ ดีกว่าการนอนพัก มากจนเกินไป เพราะการนอนมากจนเกินไป ก็อาจจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ

แต่ถ้าได้ลุกมาขยับร่างกายสักหน่อย ก็จะช่วยให้มีแรง มากยิ่งขึ้น ซึ่ง การอบอุ่นร่างกาย จะเริ่มจากการขยับเนื้อ ขยับตัวอย่างช้า ๆ โดยจะวอร์มอัพประมาณ 10 – 15 นาที เช่นย่ำเท้าช้า ๆ เดินยกเข่า วิ่งเหยาะ ๆ และการยืดเหยียด เป็นต้น และการทำให้ร่างกายอบอุ่นนั้น เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อได้วอร์มอัพแล้วนั้น จะทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นมา และโอกาสที่จะร่างกายจะแข็งแรงนั้น ง่ายกว่าการนอนพักอย่างเดียว

อุณหภูมิร่างกาย

เป็นอย่างไรบ้างคะ กับอุณหภูมิในร่างกาย ที่มีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอด การวัดไข้ที่ถูกวิธี และการเตรียมร่างกาย ให้ได้รับความอบอุ่น ดังนั้นแล้ว สามารถนำข้อมูลดี ๆ และความรู้ดี ๆ เหล่านี้ไปปรับใช้ได้ แต่ถ้าหากร่างกาย มีไข้ขึ้นสูงมาก ก็ควรที่จะพบแพทย์ก่อน เพื่อฟังคำแนะนำ จากทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และปฏิบัติตัวตามแพทย์แนะนำ ได้อย่างถูกวิธี

อย่าลืมนะคะ ทุกครั้งที่เรารู้สึกไม่สบายตัว ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ควรให้ความใส่ใจ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ ในปัจจุบัน ที่มีการแพร่ระบาดของ โควิด19 เราควรหมั่นตรวจวัดไข้เสมอ เมื่อเจอสิ่งที่ผิดปกติ ควรรีบทำการรักษา หรือไปพบแพทย์ทันที เพราะโรคร้ายต่าง ๆ ในปัจจุบัน ไม่สามารถเป็นแล้วหายได้ทันที หรือบางคนโชคร้าย ถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นใครที่ยังมีโอกาส อย่าละเลย ในส่วนนี้กันนะคะ

แนะนำสาระน่ารู้เรื่องสุขภาพ : สายรุ้ง