โรคลมแดด

โรคลมแดด เรามาดูว่า โรคลมแดดนั้น มีสาเหตุมาจากอะไร ?

โรคลมแดด คืออะไร ? สาเหตุของโรค วิธีการรักษา และวิธีการป้องกันโรค

โรคลมแดด ประเทศไทย เป็นประเทศที่ภูมิอากาศส่วนใหญ่ จะเป็นฤดูร้อน ซึ่งมีอากาศร้อน ในตลอดทั้งปี จึงทำให้เกิดปัญหา Heat Stroke โรคลมแดด เกิดขึ้น และยิ่งประเทศไทย อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ยิ่งทำให้อากาศร้อน ยิ่งในปัจจุบัน ที่มีปัญหาโลกร้อน ทำให้โลกเรา มีอุณหภูมิเฉลี่ย ที่สูงขึ้นกว่าเดิม ยิ่งทำให้ประเทศไทย มีอากาศที่ร้อนมากกว่าเดิม มีอุณหภูมิ ที่สูงมากยิ่งขึ้น ยิ่งมีโอกาส ที่จะเกิด “โรคลมแดด” มากยิ่งขึ้น

โรคลมร้อน เกิดได้ทุกเพศ และเกิดได้ทุกวัย ไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ ถ้าหากไม่ป้องกัน ให้ถูกวิธี โรคลมแดด ก็อาจจะส่งอันตรายได้ โดยในบทความนี้ เรามาดูว่า โรคลมแดดนั้น มีสาเหตุมาจากอะไร จะมีวิธี ในการป้องกัน และในการรักษาอย่างไรบ้าง

โรคลมแดดคืออะไร ?

โรคลมแดด

โรคลมแดด ภาษาอังกฤษ คือ Heat Stroke เป็นโรคที่เกิดจากอากาศ ที่มีความร้อนเกินไป เป็นโรคที่อันตราย และร้ายแรงอย่างมาก เพราะถ้าหากร้ายแรง อาจจะเสียชีวิตได้ โดยสาเหตุของโรคนั้น เกิดจากร่างกาย ที่มีการปรับอุณหภูมิ หรือควบคุมอุณหภูมิไม่ได้ เมื่อเจออากาศที่ร้อน อากาศที่อบอ้าว ทำให้ร่างกาย ไม่สามารถลดอุณหภูมิได้ ทำให้อุณหภูมิร่างกายนั้น มีอุณหภูมิสูงขึ้น เป็นเวลารวดเร็ว เพราะระบบต่าง ๆ ในร่างกายบางส่วน ไม่สามารถทำงานได้ คือ การขับเหงื่อ ที่ไม่ทำงานเหมือนเดิม ทำให้อุณหภูมิ ภายในร่างกาย ไม่ลดลงสักที ซึ่งอันตรายมาก ๆ ต่อร่างกายของเรา 

ลักษณะอาการ (Heat Stroke)

โรคลมแดด ภาษาอังกฤษ

ซึ่งเมื่อเรานั้น ได้ทราบแล้วว่า โรคลมร้อนเกิดจากสาเหตุอะไร เราจะมาดูว่า มีอาการอย่างไร โดยสำหรับ อาการ ของการ เป็นลมแดด มีดังนี้

  • ริมฝีปากแห้ง มีการหิวน้ำมาก
  • ผิวร้อน ผิวแห้ง ผิวแดง มีเหงื่อออกจำนวนมาก
  • มีอาการมึนงง สับงง พูดไม่ชัด
  • ปวดศีรษะ เวียนหัว หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว หรืออาจจะมีอาเจียนเกิดขึ้น
  • อุณหภูมิร่างกาย ที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จะรู้สึกได้ถึงตัวร้อน
  • อาจจะมีหมดสติ (ถ้าหากอาการรุนแรงขึ้น)

บุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดด

โรคลมร้อนเกิดจากสาเหตุอะไร

  • ผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  • ทารกและเด็กที่มีอายุน้อย
  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคปอด โรคความดันสูง

วิธีการรักษา ในแบบเบื้องต้น เมื่อมีคนเป็น โรคลมแดด (Heat Stroke)

สำหรับ โรคลมแดด ปฐมพยาบาล มีวิธีการที่ไม่ยาก ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ หรือว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ ในทางการแพทย์เท่านั้น คนทั่วไปทุกคน เนื่องจากว่า Heat Stroke ปฐมพยาบาล มีขั้นตอนไม่ยาก เรามาดูกันว่า การปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคลมร้อน จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง ?

วิธีการปฐมพยาบาล โดยแจ้งเจ้าหน้าที่การแพทย์ ในกรณีร้ายแรง

อาการ ของการ เป็นลมแดด มีดังนี้

  • ทำการโทรไปที่ 1669 เพื่อทำการขอความช่วยเหลือ
  • ในระหว่างรอเจ้าหน้าที่ เราควรอยู่กับผู้ป่วย เพื่อสังเกตอาการ และเพื่อผู้ป่วย มีอาการร้ายแรงมากขึ้น จะได้ช่วยเหลือได้ทัน
  • ทำการย้ายผู้ป่วย ในที่อากาศถ่ายเท แสงแดดส่องไม่ถึง หรือจะอยู่ใต้ร่มไม้ก็ได้ โดยสถานที่ ที่พาไปนั้น จะต้องไม่แออัด ไม่มีคนอยู่จำนวนมาก
  • ทำให้อุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วย ให้มีอุณหภูมิลดลง หรือให้มีอุณหภูมิที่เย็นขึ้น
  • ใช้ผ้าเปียกเช็ดตัว เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายลดลง

วิธีการปฐมพยาบาลด้วยตัวเอง ในกรณีอาการไม่ร้ายแรง 

  • นำผู้ป่วยนอนราบ และทำให้ผู้ป่วย หายใจได้สะดวกที่สุด โดยการคลายเสื้อผ้า ไม่ให้รัดแน่นเกินไป
  • จากนั้นนำผ้า ที่ผ่านการชุบน้ำเย็น ไปเช็ดตามใบหน้า ลำคอ รักแร้ ศีรษะ หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายลดลง 
  • จากนั้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ และทำการพัดให้ผู้ป่วย เพื่อจะได้อาการดีขึ้นเร็ว ๆ 

วิธีป้องกันโรคลมแดด (Heat Stroke)

– โรคนี้นั้น มีวิธีการง่าย ๆ มากมาย ในการป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคเหล่านี้ ซึ่งสามารถทำง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะมีวิธีไหนบ้าง ? 

– สวมเสื้อผ้าที่บาง และอากาศถ่ายเทสะดวก เนื่องจากลมแดด เกิดจากอากาศ ที่ร้อนเป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อป้องกันลมแดด ที่ถือว่าดีสุด ๆ ก็คงต้องเป็นเรื่องเสื้อผ้า ที่ยิ่งระบายอากาศดี ไม่ร้อนอบอ้าว โอกาสที่จะเป็นลมแดด ก็จะลดน้อยลงไป

– หาสิ่งป้องกัน เมื่ออยู่ท่ามกลางแสงแดด เมื่ออยู่กลางแดด แน่นอนว่าต้องร้อนมาก ๆ และเสี่ยงต่อการเป็นลม หรือเสี่ยงต่อการเป็นลมแดด ดังนั้น ถ้าหากอยู่กลางแดด ควรที่จะหาหมวก หาร่ม หรืออะไรก็ได้ ที่ป้องกันแสงมาใช้ 

– ดื่มน้ำให้มาก เพราะว่าคนที่เป็นลมแดดนั้น สาเหตุเกิดจาก อุณหภูมิร่างกาย ที่สูงเกินไป และอุณหภูมิ ก็ไม่ลดลงมาอีกด้วย แต่การดื่มน้ำ จะช่วยให้อุณหภูมิ ในร่างกายเรานั้น ได้ค่อย ๆ ลดลงไป ตามกลไกของร่างกาย เพียงเท่านี้เอง ก็จะป้องกันร่างกาย ไม่ให้เป็นลมแดดแล้ว

– ห้ามทิ้งใครก็ตาม ไว้ในรถเด็ดขาด ในช่วงที่อากาศร้อน เพราะว่าในรถ มีอากาศถ่ายเทน้อย มีอากาศร้อนอบอ้าว ใครก็ตามที่อยู่ในรถ ในวันที่อากาศร้อน แน่นอนว่า ต้องเสี่ยงอย่างมาก ที่จะก่อให้เกิด Heat Stroke

– ลดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เสียเหงื่อมาก ในวันที่อากาศร้อน เพราะคนที่เป็นลมแดด เกิดจากร่างกายนั้น ระบายความร้อนไม่ดี แต่ถ้าหากเล่นกีฬา หรือกิจกรรมอะไรก็ตาม ในช่วงที่อากาศร้อน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง ในการเกิดลมแดดมากขึ้น 

– ถ้าหากอยู่ในบ้าน ควรเปิดแอร์ พัดลม หรือเปิดหน้าต่าง ทุกพื้นที่อาศัย ที่มีคนอยู่ เพื่อไม่ให้ในบ้าน มีอากาศที่ร้อน และอบอ้าวเกินไป ซึ่งอาจจะอันตรายอย่างมาก สำหรับคนในบ้าน โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัว ที่จะเสี่ยงมาก ๆ ต่อการเป็นโรคลมแดด 

เกร็ดความรู้ทั่วไป เขียนบทความโดย : MP เกร็ดความรู้ทั่วไป ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ @UFA-X10

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *